รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีวิธีอย่างไร?
การรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นวิธีการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายการผ่อนบ้านสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้กู้สามารถเริ่มต้นการรีไฟแนนซ์คอนโด บ้านเดี่ยว ทาว์เฮ้าส์ และบ้านประเภทอื่น ๆ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับเป็นเงินกู้ให้มีค่าใช้จ่ายวงดแต่ละเดือนได้น้อยลง ประหยัดค่าใช้จ่าย พร้อมเพิ่มวงเงินสำหรับการจ่ายส่วนต่างอื่น ๆ ของบ้านได้มากขึ้น
ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้านแบ่งออกเป็นกี่หมวด? มีกี่ขั้นตอน? มีการจัดเตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง ทาง Home Impress จึงให้ข้อมูล Refinance ประกอบแก่ผู้อ่านได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าผู้กู้ที่ทำการรีไฟแนนซ์บ้านไม่ผ่าน หรือ ไม่มีประสบการณ์แลกเปลี่ยนสินเชื่อกู้เงิน สามารถดูลายละเอียดการรีไฟแนนซ์บ้านได้ในบทความนี้
รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร
การรีไฟแนนซ์บ้าน (refinance) คือ การทำข้อตกลงสินเชื่อกู้เงินสำหรับการซื้อบ้านกับธนาคารที่ผู้ซื้อได้จ่ายในปัจจุบัน ให้ถูกทำการโอนย้ายไปทำสัญญาจ่ายเงินต้นกับธนาคารรายใหม่ ซึ่งผู้ซื้อสามารถทำการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม เพื่อทำการยื่นเสนอให้ภาระอัตราดอกเบี้ยบ้านในการจ่ายในราคาต่ำกว่า ยืดเวลาในการผ่อนชำระ อีกทั้งลดภาระการจ่ายหนี้ผ่อนชำระงวดแต่ละเดือนได้ในราคาที่ถูกลง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า การรีไฟแนนซ์บ้านรวมหนี้กับธนาคารใหม่
โดยวิธีการรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อทำข้อตกลงสัญญากับธนาคารใหม่ ผู้จ่ายต้องหมดสัญญาการทำสินเชื่อกู้เงินกับธนาคารเก่า หรือจ่ายค่าปรับเวลาส่วนของสัญญาสินเชื่อกับธนาคารเก่าที่เหลืออยู่ พร้อมมีประวัติพฤติกรรมการผ่อนชำระอย่างตรงต่อเวลาและมีเอกสารรับรองอย่างครบถ้วน
ยกตัวอย่าง การรีไฟแนนซ์บ้าน เช่น นาย A ซื้อบ้านเดี่ยวในโครงการหนึ่ง ราคา 1,000,000 บาท ทำการดาวน์จ่ายกับตัวโครงการไป 100,000 บาท เหลือยอดเงินกู้อีก 900,000 บาท จึงทำสัญญาสินเชื่อกู้เงินกับธนาคาร Z เพื่อทำการผ่อนชำระ 10,000 บาท/เดือน พร้อมจ่ายดอกเบี้ยรวมไปอีก 3% ไปด้วย รวมยอดจ่ายทั้งหมด 16,171 บาท/เดือน ในระยะสัญญาสินเชื่อกูเงินขั้นต่ำ 5 ปี
เมื่อนาย A ทำการผ่อนบ้านกับธนาคาร Z จนครบกำหนดสัญญาเสร็จเรียบร้อย จึงทำการยื่นรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร B ที่ให้สิทธิพิเศษการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อทำสัญญาผ่อนจ่ายต่อเดือนในราคารวมดอกเบี้ยแค่ 2.5% จึงทำให้ราคาผ่อนบ้านต่อเดือนมียอดจ่ายแค่ 15,973 บาท/ต่อเดือนเท่านั้น
รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดี
การรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่หรือปัจจุบัน จำเป็นต้องพิจารณาลายละเอียดการทำสัญญาสินเชื่อบ้านอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยบ้านแต่ละสถาบันการเงินมีเปอร์เซ็นต์การรวมยอดเงินกู้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านที่ไม่เท่ากัน อีกทั้งธนาคารแต่ละสถาบันมีเงื่อนไขการผ่อนชำระกับผู้ทำสัญญาที่พิจารณาการรีไฟแนนซ์บ้านที่แตกต่างกันอย่างมาก
ดังนั้นก่อนที่ผู้ซื้อจะทำสัญญายื่นรีไฟแนนซ์บ้าน จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลการทำข้อตกลงการทำสินเชื่อกู้เงินกับธนาคารนั้น ๆ อย่างระมัดระวัง ตั้งแต่การจัดเตรียมข้อมูลการทำธุรกรรมการเงิน การทำความเข้าใจอัตราดอกเบี้ยบ้านแต่ละธนาคาร มีเงื่อนไขการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินเพื่อยื่นเอกสารแบบถี่ถ้วน เพราะหลักเกณฑ์การทำสินเชื่อรีไฟแนนบ้านแต่ละสถาบันวงการเงินมีดอกเบี้ยและกฎระเบียบที่แตกต่างกันไป
เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน ใช้เอกสารอะไรบ้าง
โดยทั่วไป ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน ผู้ซื้อจำเป็นต้องเตรียมเอกสารสำหรับการดำเนินการต่อสัญญากับธนาคาร ดังต่อไปนี้
1. เอกสารประจําตัว
เอกสารยืนยันตัวตนของผู้กู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน โดยเอกสารประจำตัว ประกอบไปด้วย
- สำเนาทะเบียนบัตรประชาชน
- สำเนาบัตรทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
- สำเนาใบทะเบียนสมรส/หย่า
- สำเนาใบทะเบียนประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
- สำเนาใบมรณบัตร ในกรณีผู้สมรสเสียชีวิต
2. เอกสารแสดงรายได้
เอกสารรีไฟแนนซ์บ้านสำหรับการยืนยันรายได้ของผู้กู้ เพื่อเป็นข้อมูลให้ทางธนาคารพิจารณาทำสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้านกับผู้กู้ได้อย่างปลอดภัย โดยหมวดหมู่รายได้ของผู้กู้แบ่งข้อมูล Refinance ออกเป็น 2 หมวดหมู่ ประกอบไปด้วย
• เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน สำหรับบุคคลที่มีรายได้ประจำ
- หนังสือรับรองการทำงานประจำ
- สลิปเงินเดือนสำหรับ ย้อนหลัง 3-6 เดือน
- หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ (ในกรณีที่ผู้กู้มี สามารถนำมายื่นให้กับธนาคารได้)
- สำเนารับรองการหักภาษี 50 ทวิ (ในกรณีบางธนาคารต้องการข้อมูลเอกสารประเภทนี้เท่านั้น)
• เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน สำหรับบุคคลที่ทำธุรกิจส่วนตัว
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน/ใบทะเบียนการค้า
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีชื่อผู้กู้/ผู้กู้ร่วม
- สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 12 เดือน (ทั้งในนามบุคคล และในนามกิจการ)
- สำเนาแสดงภาษีซื้อ-ขาย ภ.พ. 30 หรือ ภงด. 50/51 ย้อนหลัง 5 เดือน (ถ้ามี)
3. เอกสารแสดงหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน
เอกสารของผู้กู้สำหรับเป็นข้อมูลหลักประกันทำเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้าน จำเป็นต้องมีเอกสารการทำสินเชื่อกู้เงินกับสถาบันทางการเงินเก่า และเอกสารจากกรมที่ดิน ประกอบไปด้วย
- สำเนาสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินเดิม
- สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน หรือ สำเนาสัญญาจำนองห้องชุด
- สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2)
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน ทด.13 หรือ สัญญาให้ที่ดิน ทด.14 หรือ สัญญาซื้อขายห้องชุด
- สำเนาใบเสร็จผ่อนชำระค่างวดบ้าน หรือ ถ้าผ่อนชำระแบบตัดค่างวดอัตโนมัติ ให้ใช้ รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 12 เดือน
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีวิธีอย่างไร
ผู้ซื้อที่มีความต้องการอยากรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ สามารถจัดเตรียม 8 ขั้นตอนการซื้อบ้านดังต่อไปนี้
1. พิจารณาข้อตกลง เงื่อนไข ข้อตกลงระหว่างธนาคารใหม่และเก่า
ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อมีความต้องการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเก่า สามารถติดต่อการทำธุรกรรมการเงินได้ทันที เพื่อนำข้อเสนอของธนาคารเก่าไปเปรียบเทียบกับเงื่อนไขของธนาคารใหม่ ให้ผู้ขอสามารถชั่งน้ำหนักความคุ้มค่าการใช้บริการของสบาบันวงการเงินทั้ง 2 แห่งนี้ โดยพิจารณาได้จากอัตราการลดดอกเบี้ย (Retention) วงเงินทางธนาคารสามารถให้มากน้อย และระยะเวลาการผ่อนในสัญญามีความสมน้ำสมเนื้อมากแค่ไหน
2. ตรวจเช็คสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้าน
ทางธนาคารเก่าและใหม่จะเปิดอนุมัติการรีไฟแนนซ์บ้านของผู้กู้ได้ในกรณีที่ ผู้กู้ผ่อนชำระบ้านครบ 3 ปีเป็นขั้นต่ำ หากผู้กู้ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนด จำเป็นต้องจ่ายค่าปรับให้ทางธนาคารที่เหลืออยู่ให้หมด
3. รีเช็คยอดหนี้ที่ต้องจ่ายที่เหลือ
หากผู้กู้ต้องการตรวจเช็คยอดหนี้ในระหว่างอยู่ในสัญญากับธนาคารปัจจุบัน สามารถติดต่อทางธุรกรรมทางการเงินเพื่อทำการตรวจเช็ค ในการสรุปยอดหนี้ทั้งหมดได้ในภายหลัง โดยการรีเช็คยอดหนี้นี้สามารถเป็นข้อมูลให้ผู้กู้ตรวจเช็คข้อเสนอการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ได้
4. ศึกษาหาธนาคารสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน
หากผู้กู้ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ ผู้กู้ควรศึกษาข้อเสนอ เงื่อนไข และข้อกำหนดของสถาบันทางการเงินใหม่อย่างรอบครอบ เพราะธนาคารแต่ละแห่งมีโปรโมชั่นกับข้อเสนอการรีไฟแนนซ์บ้านที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้กู้สามารถหาแหล่งในการทำข้อตกลงได้คุ้มค่าที่สุด
5. จัดเตรียมเอกสารสำหรับการทำสัญญา
เอกสารสำหรับผู้กู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านให้กับทางธนารคารมีทั้งหมด 3 ประเภทได้แก่
5.1 เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ใบสำเนาทะเบียนประชาชน หรือ สำเนาบัตรทะเบียนบ้าน
5.2 เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือนสำหรับ ย้อนหลัง 3-6 เดือน หรือ สำเนารับรองงาน ประจำ
5.3 เอกสารหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน เช่น สัญญาเงินกู้จากธนาคารเดิม และสำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกันอย่างโฉนดที่ดิน
6. การยื่นสินเชื่อในการรีไฟแนนซ์บ้าน
เมื่อทางผู้กู้จัดเตรียมเอกสารที่กล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถทำการยื่นกับธนาคารใหม่ที่รับเรื่องแล้วรอทางสถาบันไปประเมินราคาหลักประกันแล้วเจรจาการโอนข้อมูลสินเชื่อกู้เงินกับธนาคารเก่า เพื่อเป็นขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อการรีไฟแนนซ์บ้านอย่างเป็นทางการในลำดับต่อไป
7. จัดเตรียมยอดเงินสำหรับค่าใช้จ่ายการจัดเตรียมดำเนินการ
ทางธนาคารจะจัดเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนต่างสำหรับการใช้บริการ โดยมีค่าธรรมเนียม ค่าประเมินราคา โปรโมชันในธนาคารที่เสนอไว้ เพื่อสรุปยอดค่าใช้จ่ายการรีไฟแนนซ์บ้านสำหรับผู้กู้ทั้งหมด
8. การทำสัญญาสินเชื่อและจดจำนองกับกรมที่ดิน
ลงทะเบียนการทำสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้านอย่างเป็นทางการ ทางธนาคารจะจัดเตรียมเอกสารเซ็นที่กรมที่ดินและค่าจดจำนอง เป็นกระบวนการทำสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้านเป็นขั้นตอนสุดท้าย
ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องเสียค่าอะไรบ้าง
ค่าใช้จ่ายการรีไฟแนนซ์บ้านสำหรับใช้บริการของธนาคาร มีค่าใช้จ่ายดังนี้
• ค่าบริการประเมินราคา แต่ละโปรโมชันที่ทางธนาคารได้เสนอไว้
• ค่าจดจำนอง โดยหักเป็น 1% ให้กับกรมที่ดินของวงเงินกู้
• ค่าประกันอัคคีภัย โดยเป็นกฎข้อบังคับของกฎหมายไทยที่ต้องทำทุก 1-3 ปี
• ค่าธรรมเนียมการใช้บริการอื่น ๆ ของธนาคาร
ประโยชน์ของการรีไฟแนนซ์บ้าน
ประโยชน์การการรีไฟแนนซ์บ้าน มีดังนี้
1. ประหยัดค่าดอกเบี้ยสำหรับการผ่อนบ้าน
ทางธนาคารที่ทำสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ อาจเสนอเปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยร้อยละการผ่อนบ้านที่ถูกกว่าสถาบันการเงินเจ้าอื่น ๆ ได้หยืดหยุ่นกว่า
2. ลดระยะเวลาในการผ่อนบ้าน
การผ่อนเงินต้นจะลดลงเมื่อ ยอดดอกเบี้ยน้อยกว่ายอดเก่าของธนาคารเดิม เนื่องด้วยระยะเวลาการผ่อนบ้านรายเดือนจาก 20 ปีอาจเหลือยอดสะสมการผ่อนแค่ 15 ปี
3. ลดยอดค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน
การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นปัจจัยที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านแต่ละเดือนแบบขั้นบันได โดยขึ้นอย่กับโปรโมชันของธนาคารที่นำเสนอยอดดอกเบี้ยพิเศษประจำช่วง
4. ธนาคารใหม่มีข้อเสนอเปิดวงเงินเพิ่มที่มากกว่าเดิม
ในระยะที่ผู้กู้ ทำการรีไฟแนนซ์บ้านมาซักพักใหญ่แล้ว ผู้กู้สามารถเปิดสินเชื่อพร้อมวงเงินเพื่อลดภาระหนี้ส่วนต่างของราคาบ้านได้
Q&A รวมคำถามถามบ่อยเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้าน
รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้ไหม
ผู้กู้สามารถการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้ ในกรณีที่ต้องการลดดอกเบี้ยเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาข้อเสนอของธนาคารที่ต้องการสัญญาใหม่เท่านั้น
รีไฟแนนซ์บ้านต้องกี่ปี
ระยะเวลาการรีไฟแนนซ์บ้านได้หลังผ่อนบ้านกับสัญญาธนาคารปัจจุบัน 3 ปีเป็นต้นไป
ผ่อนบ้าน 2 ปี รีไฟแนนซ์ได้ไหม
ผู้กู้สามารถทำการรีไฟแนนซ์บ้านก่อนกำหนดได้ แต่ต้องจ่ายค่าปรับกับธนาคารที่ทำสัญญาที่เหลือไว้ให้ครบทั้งหมด